วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Chapter9 
E-Government 

ประวัติความเป็นมา
                   การก้าวไปสู่ e-government จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงาน และการให้บริการของภาครัฐเพื่อให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม จะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญกับการก้าวไปสู่การเป็น e-government และมีการประกาศนโยบายในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ
                   สหราชอาณาจักร ประกาศว่าภายในปี ค.ศ. 2005 ประชากรทุกคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ไม่ว่าจะเข้าจากที่บ้าน หรือจุดให้บริการในชุมชน ก็ตาม รวมทั้งการบริการของภาครัฐทุกอย่างจะทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่สิงคโปร์เองก็ประกาศว่าภายในปี ค.ศ. 2001 counter services ของรัฐ 100% จะเป็นการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ออสเตรเลียระบุว่ารัฐจะให้บริการที่เหมาะสมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อันหมายถึงผ่านทางอินเทอร์เน็ตภายในปี ค.ศ. 2001 ส่วนแคนาดามีเป้าหมายว่าบริการของรัฐทุกอย่างจะเป็นแบบ online ภายในปี ค.ศ. 2004 โดยมีบริการหลักบางอย่างสามารถให้บริการได้ก่อนในปี ค.ศ. 2000 สำหรับเนเธอร์แลนด์มีเป้าหมายว่า 20% ของบริการของรัฐสามารถให้ online ได้ในปี ค.ศ. 2002 สหรัฐอเมริกาซึ่งถือเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเองก็กำหนดเป้าหมายไว้ว่าจะให้บริการต่างๆ และบริการด้านข้อมูลของภาครัฐผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในปี ค.ศ. 2003 แต่ประเทศซึ่งอาจเป็นแชมป์ e-government เร็วที่สุด เนื่องจากกำหนดไว้ว่าในช่วงสิ้นปี ค.ศ. 2000 นี้ ประชาชนจะสามารถเข้าถึงบริการและเอกสารของรัฐได้ทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ ประเทศฝรั่งเศส


ความหมาย e-government
e-government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการคือ
1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
2.ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม

e-government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีจะนำมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของการเข้าถึง และการให้บริการของรัฐ โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ ประชาชน ภาคธุรกิจและข้าราชการเอง

e-government กับ e-services มีความเกี่ยวพันกันมาก กล่าวได้ว่า e-government เป็นพื้นฐาน ของ e-services เพราะการให้บริการของรัฐต่อประชาชนนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องมีเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองที่มีความปลอดภัย และทำให้องค์กรสามารถแลกเปลี่ยนสารสนเทศกันได้




หลัก e-Government จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2C ระบบต้องมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ ประชาชนอุ่นใจในการรับบริการและชำระเงินค่าบริการ ธุรกิจก็สามารถดำเนินการค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่น อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญในการให้บริการตามแนวทางรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์



1 รัฐ กับ ประชาชน G2C
เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินกิจกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศ ของรัฐ เช่น การชำระภาษี การจดทะเบียน การจ่ายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียงและการค้นหาข้อมูล ของรัฐที่ดำเนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น โดยที่การดำเนินการต่างๆนั้นจะต้องเป็นการทำงานแบบ online และ Real Time มีการราับรองและโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์

2 รัฐบาล กับ เอกชน G2B
เป็นการให้บริการภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดย ความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล้กทรอนิกส์ การส่งออกและนำเข้า การชำระภาษี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก

3 รัฐบาล กับ รัฐบาล G2G
เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยงานราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันดดยกระดาษและลายเซนต์ในระบบเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอย่างเป็นทาง การเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ (Economy of Speed) ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน นอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการให้บริการระหว่างหน่วยงานของภาครัฐโดยใช้การ เชื่อมต่อโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกัน (Collaboration) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน (Govemment Data Exchan) ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่างๆที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back office ต่างๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบัญชีและการเงิน ระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดีจะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกับการ ทำงานในระบบเดิม

4 รัฐบาล กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐบาล G2C
เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐบาล (Employee) กับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบที่จะช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานและ การดำรงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมาย และ ข้อบังคับในการปฏิบัติราชการ ระบบการพัมนาบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น

Chapter 8 e - Procurement

Chapter 8 
e - Procurement



                ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e – procurement) เป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการให้บริการที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เช่น การตกลงราคา การสอบราคา การประกวดราคา และการจัดซื้อรวมแบบออนไลน์ รวมถึงการลงทะเบียนบริษัทผู้ค้า การทำ e – Catalog และการทำงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดซื้อที่เป็น Web Based Application เพื่อทำให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ ใช้ระยะเวลาจัดหาพัสดุน้อยลง และได้พัสดุที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม รวมทั้งเพิ่มความโปร่งใสของกระบวนการจัดหาและสามารถติดตามตรวจสอบกระบวนการทำงานได้

-ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-Procurement) เป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการให้บริการที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เพื่อทำให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

-e-Procurement หมายถึง การทำงานในแต่ละขั้นตอนของระบบ ข้อมูลจะถูกจัดส่งและจัดเก็บไปในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งข้อมูลเหล่านี้พร้อมที่จะถูกนำไปวิเคราะห์ต่อไป โดยข้อมูลครอบคลุมตั้งแต่การค้นหาและเลือกสินค้าจากe-Catalog การออกใบขอสั่งซื้อ การรับและการอนุมัติใบขอสั่งซื้อ การออกใบสั่งซื้อ การติดตามการสั่งซื้อ การตรวจรับสินค้าและการชำระเงิน


วัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบ e-Procurement ในประเทศไทย
-ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) จากการจัดซื้อสินค้าหรือบริการได้ตรง กับความต้องการของผู้ใช้
-ความพร้อมรับผิด (Accountability) และการสร้างระบบธรรมาภิบาล(Good Governance) โดยเจ้า หน้าที่ผู้รับผิดชอบระบบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐควรต้องมี ความพร้อมรับผิดต่อการตัดสินใจของตน
-ความโปร่งใส (Transparency) โดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างต้องเป็นกระบวนการที่เปิดเผยต่อสาธารณะ
-ความคุ้มค่า (Value for Money) เพื่อลดปัญหาการที่หน่วยงานรัฐมักซื้อสินค้าหรือบริการในราคาที่แพงกว่าของภาคเอกชน

ความมุ่งหมาย ของ e-Procurement ในประเทศไทย
-ลดการรั่วไหลในระบบการจัดซื้อจัดจ้าง
-ช่วยภาครัฐในการพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่มุ่งไปสู่ระบบที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นโดยลดทรัพยากรที่ต้องใช้ไปกับการจัดซื้อจัดจ้าง
ประโยชน์ของการพัฒนาระบบ e-Procurement
-เอกสารการยื่นประกวดราคา คำชี้แจงและคำอธิบาย และข้อมูลการตัดสิน ผลการประกวดราคาของโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านการคัดเลือกไปแล้วมีความชัดเจนและครบถ้วนสมบูรณ์
-การกระจายข้อมูล (Distribution) ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องฝ่ายต่าง ๆโดยเฉพาะ ผู้ค้าที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการดังกล่าวซึ่งอาจใช้วิธีการต่าง ๆ
-การยื่นประกวดราคาผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bid Submission) ซึ่งต้องมีการออกแบบตู้รับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Vault) ที่มีความปลอดภัย ไม่สามารถเปิดได้ก่อนเวลาที่กำหนด อันเป็นกระบวนการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ ทุกขั้นตอน
-การเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพื่อให้เกิดบริการมูลค่าเพิ่ม (Value Added Service) ต่าง ๆ

ขั้นตอนของระบบ e-Procurement
-ค้นหาสินค้า/บริการที่จะซื้อผ่าน E-Catalog
-เลือกหมวดสินค้าที่ต้องการจะซื้อผ่าน E-Shopping List
-จัดประกาศเชิญชวนผ่าน Web-Site
-ผู้ขายเสนอคุณสมบัติของสินค้าทางอินเตอร์เน็ต (E-RFP)
-ผู้ซื้อตรวจสอบราคากลาง (E-RFQ) และ Track Record ของผู้ขาย
-ประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction)
-ประกาศผล ผู้ชนะและส่งมอบ/ตรวจรับพัสดุ
-จ่ายเงินตรงด้วยระบบ E-Payment

ระบบ e–Catalog
-เป็นมาตรฐานระบบ Catalog ที่รวบรวมรายละเอียดของสินค้าและบริการ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ค้า/ผู้รับจ้าง(Supplies)ที่มีคุณสมบัติทำธุรกรรมสามารถเข้ามา ทำการแจ้งและปรับปรุงรายการสินค้า/บริการของตนเองได้
-ส่วนราชการสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อค้นหาข้อมูลและพิจารณาสั่งซื้อจากสินค้า/บริการจาก e-Catalog ได้ตลอดเวลา


ระบบ e-RFP (Request for Proposal)และ e-RFQ (Request for Quotation) 
เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีสอบราคาหรือวิธีตกลงราคา

ระบบ e– Auction
ส่วนที่ 1 Reverse Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลซื้อให้ได้ในราคาต่ำสุด ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในกรณีที่สินค้า/บริการที่ต้องการจัดซื้อหรือจัดจ้าง e-RFP / e-RFQ มาดำเนินการประมูลผ่านทาง Internet แบบ Real-time ตามวันและเวลาที่กำหนด
ส่วนที่ 2 Forward Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลขาย ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับการจำหน่ายพัสดุที่หมดความจำเป็นของหน่วยงาน ภาครัฐโดยวิธีขายทอดตลาด ซึ่งเป็นการประมูลขายแบบผู้ชนะ คือ ผู้ที่เสนอราคาสูงสุด

ระบบ e-Data Exchange
-เป็นระบบการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ค้า
-การตรวจสอบความเป็นนิติบุคคล โดยร่วมมือกับกรมทะเบียนการค้าและกรมสรรพกร
-การส่งข้อมูลในการตรวจสอบจำนวนเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงบประมาณ แผนการใช้จ่ายเงิน ( Cash Management ) และการสั่งจ่ายเงิน (Direct Payment) ของกรมบัญชีกลาง
- การส่งข้อมูลตรวจสอบการเสียภาษีของผู้ค้าและผู้รับจ้าง โดยส่งข้อมูลสัญญาให้กรมสรรพากร และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
-การประกาศเชิญชวนผู้ค้าผ่าน Website หน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรมบัญชีกลาง กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย


e-Market Place ตลาดกลางรวบรวมสินค้าและร้านค้าหรือบริษัท จำนวนมาก เพื่อเป็นสื่อกลางในการซื้อE-Marketplace -ขายสินค้าระหว่าE-Marketplace

ข้อดีของ e-procurement ในด้านของผู้ขาย
-เพิ่มปริมาณการขาย
-ขยายตลาด และได้รับลูกค้ากลุ่มใหม่
-ดำเนินการบริหารการขาย และกิจกรรมทางการตลาดในต้นทุนต่ำ
-เวลาของกระบวนการสั้นลง
-พัฒนาให้พนักงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
-กระบวนการประมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ข้อดีของ e-Procurement
จะช่วยให้องค์กรสามารถลดงานที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่ากับองค์กรลง และทาให้ฝ่ายจัดซื้อมีเวลาวางแผนในส่วนของการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์ (Strategic sourcing) ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญมากขึ้น

Chapter 7 Electronic Supply Chain Management


Chapter 7 

Electronic Supply Chain Management



Electronic Supply Chain Management
               การใช้กลยุทธ์เดิมๆ คือ การเร่งพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการให้มีความโดดเด่นและใช้กลยุทธ์ด้านราคาด้วยการลดต้นทุนและตัดค่าใช้จ่ายลง แต่องค์กรทุกองกรค์ต่างใช้กลยุทธ์ที่ไม่แตกต่างกันจนกระทั่งไม่ได้เกิดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันมากนัก แต่ในปัจจุบันมีแนวความคิดที่กำลังได้รับความสนใจและให้ความสำคัญกันมากคือ การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management : SCM)

                 ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ


The Benefits of supply chain management










Supply Chain Management




Supply Chain for Denim Jeans



Supply Chain for Denim Jeans (cont.)




ขั้นตอนวิวัฒนาการไปสู่ระบบการจัดการซัพพลายเชน
                  การกำเนิดระบบการบริหารซัพพลายเชนกล่าวกันว่ามีต้นแบบมาจากการส่งลำเลียงเสบียงอาหารและอาวุธยุโธปกรณ์ตามระบบส่งกำลังบำรุงของทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามที่ต้องการความมั่นใจว่าอาวุธและเสบียงอาหารจะต้องจัดส่งให้เพียงพอกับความต้องการและไปยังสถานที่ที่กำหนดอย่างถูกต้องตรงเวลา เพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด จึงจำเป็นต้องอาศัยการวางแผนจัดลำดับก่อนหลังและรักษาประสิทธิภาพในการสื่อสารที่รวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งต่อมาแนวความคิดดังกล่าวได้นำมาพัฒนาและดัดแปลงให้กับธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสร้างคุณค่าและความพึงพอใจแก่ลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง โดย Helen Peek และคณะได้กล่าวถึงระยะของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อเข้าสู่กระบวนบริหารซัพพลายเชน 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน (The Baseline Organization)
เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั้งเดิมที่ต้องการสร้างผลกำไรสูงสุดขององค์กร โดยเน้นความชำนาญในการทำงานของแต่ละแผนก

ระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน (The Functionally Integrated Company)
ในระยะนี้องค์กรจะเริ่มจัดตั้งเป็นบริษัท โดยในองค์กรได้มีการรวบรวมหน้าที่/ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มงาน/ฝ่ายเดียวกัน ซึ่งจะไม่มีแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากันอย่างเด็ดขาด
ระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Internally Integrated Company)
ในระยะนี้องค์กรมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของตนอย่างต่อเนื่อง โดยฝ่ายต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทำให้มีการติดต่อประสานงานเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายงานมากขึ้น การทำงานจึงมีความต่อเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่
ระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Externally Integrated Company)
ระยะนี้เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายเชนอย่างเต็มตัว โดยเข้าไปทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายการทำงานเดียวกัน เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตวัตถุดิบ คุณลักษณะของวัตถุดิบและวิธีการผลิตวัตถุดิบในโรงงานของซัพพลายเออร์



การบริหารจัดการซัพพลายเชน
จะต้องพิจารณาความสามารถในการประสานระบบงานระหว่างองค์กรใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่
1.ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการระหว่างกลุ่ม suppliers (Supply-management interface capabilities)เพื่อให้ระบบปฏิบัติการโดยรวมมีต้นทุนต่ำที่สุด
2.ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า(Demand-management interface capabilities) เป็นระบบการบริหารจัดการเพื่อการให้บริการที่มีคุณภาพและการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการขาย
3.ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ(Information management capabilities)


ปัญหาของการจัดการซัพพลายเชน
1.ปัญหาจากการพยากรณ์
2. ปัญหาในกระบวนการผลิต
3. ปัญหาด้านคุณภาพ
4. ปัญหาในการส่งมอบสินค้า
5. ปัญหาด้านสารสนเทศ
6. ปัญหาจากลูกค้า


ตัวอย่างปัญหาของการจัดการโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
Bullwhip Effect คือปัญหาที่เกิดจากความแปรปรวนเล็กน้อยของความต้องการถูกนำมาขยาย เมื่อส่งข้อมูลกลับต้นทาง


เทคโนโลยีสารสนเทศในซัพพลายเชน
                   การนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Technology) โดยเฉพาะทางด้านไอที ฮาร์แวร์ และซอฟแวร์ มาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการให้ระบบซัพพลายเชนมีความต่อเนื่องไม่ติดขัด ด้วยการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกัน ก่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องในการจัดเก็บและส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆ ในระบบห่วงโซ่อุปทาน โดยปัจจุบันเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในระบบซัพพลายเชนได้แก่

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)
เป็นการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการทางธุรกิจและการดำเนินงานระหว่างธุรกิจกับธุรกิจและระหว่างบุคคลกับธุรกิจ ในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) จะมีการทำธุรกรรมผ่านสื่อต่างๆ ทางอิเล็กส์ทรอนิกส์


การใช้บาร์โค้ด (Barcode)
แท่ง เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่งบาร์ โดยจะประกอบไปด้วยบาร์ที่มีสีเข้มและช่องว่างสีอ่อน ซึ่งบาร์เหล่านี้จะเป็นตัวแทนของตัวเลขและตัวอักษร สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Scanner บาร์โค้ดจึงทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของสินค้า

การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI : Electronic Data Interchange)
เป็นระบบถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ โดยรูปแบบข่าวสารข้อมูลนั้นจะมีการจัดรูปแบบและมีความเป็นมาตรฐานเดียวกันตามที่ได้ตกลงกันไว้ เรียกว่า EDI Message ผ่านเครือข่ายการสื่อสาร (Telecommunication Network) ทำให้เพิ่มความถูกต้องและรวดเร็วในการทำงาน ทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูลต่างก็สามารถเข้าถึง EDI message ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาในการบันทึกข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์ข้อมูลการสั่งซื้อออกมาเป็นเอกสาร ทำให้ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร ลดปัญหาการสูญหายและความผิดพลาดเนื่องจากมีระบบฐานข้อมูลที่ถูกต้อง

การใช้ซอฟแวร์ Application SCM

- Advance Planning and Scheduling จัดสร้างแผนการผลิตและจัดตารางเวลาโรงงานการผลิต ใช้เงื่อนไขข้อจำกัดและกฎเกณฑ์ทางธุรกิจในการปรับตารางให้ดีที่สุด Inventory Planning วางแผนคลังสินค้าที่จำเป็นในแต่ละจุดเพื่อกระจายการจัดส่ง เพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาด

- Customer Asset Management ใช้สำหรับจัดระบบการสื่อสารโต้ตอบกับลูกค้ารวมทั้งระบบขายอัตโนมัติและการให้บริการลูกค้า เป็นต้น

ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตระบบ ERP หลักๆ มีอยู่ 5 รายด้วยกัน คือ SAP,ORACLE, Peoplesoft, J.D. Edwards และ Baan

Chapter 6 e-CRM : Electronic Custormer Relationship Management

Chapter 6 
e-CRM
Electronic Custormer Relationship Management

CRM คือ เป็รกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า เรียนรู้ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้วนสินค้าและบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนมากที่สุด

กระบวนการทำงานของระบบ CRM
- Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า
- Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน
- Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า
- Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน

ขั้นตอนการทำงานของ CRM
1. การวิเคราะห์ลูกค้า2
2. การวิเคราห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด
3. การแบ่งส่วนตลาด
4. การกำหนดตลาดเป้าหมาย
5. การจัดทำแผนการตลาด



ประโบชน์ของ CRM

1. มี รายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้ แก่ Customer Profile
2. Customer Behavior
3. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
4. ใช้กลยุทธ์ ในการตลาด และการขายได้ อย่างรวดเร็วอย่างมี ประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
5. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
6. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้ จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน ก่อให้ เกิดภาพพจน์ ที่ดี ต่อองค์ การ

e-CRM 
หมายถึง กระบวนการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าทาง internet มีการผสมผสานการใช้งานเทคโนโลยี บุคลากร และกระบวนการขายสินค้าหรือบริการเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้า รักษาลูกค้าไว้และสร้างกำไรสูงสุดจากลูกค้า

คุณสมบัติที่ดีของ e-CRM
1. ความสามารถในการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว และสามารถในการประเมินความต้องการของลูกค้าล่วงหน้าได้ เพื่อให้การปฏิบัติงานสามารถเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้สูงสุด
2. การอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในการรับข้อมูลที่ตัวเองสนใจ และทันต่อเหตุการณ์ เช่น ระบบ CRM สามารถแจ้งให้เจ้าของรถยนต์ทราบล่วงหน้าว่า รถของพวกเขาถึงเวลาอันสมควร ที่จะได้รับการตรวจเช็คจากศูนย์บริการ โดยระบบจะทราบถึงรายละเอียดของข้อมูลลูกค้าเพื่อใช้ ในการติดต่อ รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวรถ จดหมายแจ้งลูกค้า จะถูกส่งไปทาง e-mail ตามที่อยู่ที่เก็บบันทึกไว้ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้ารับบริการตรวจเช็ครถคันดังกล่าว รวมถึงการเพิ่มความสะดวกให้แก่ลูกค้าด้วยการแนะนำศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุดให้พนักงานในองค์กรนั้นๆทาง web site
3. ในปัจจุบันเทคโนโลยีที่ทันสมัย และการพัฒนาของซอฟต์แวร์ได้ช่วยอำนวยความสะดวกให้องค์กร สามารถเก็บรวบรวมขู้มูลลูกค้าได้อย่างมีระบบ และนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อได้เปรียบที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ระบบการทำงานที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน ซึ่งมีความเที่ยงตรงกว่าการบริหารโดยคน และยังสามารถแสดงให้เห็นถึงทิศทางและแนวโน้มในเรื่องต่างๆ อย่างชัดเจน เช่น อัตราการเติบโตของลูกค้า ความจำเป็นที่จะต้องหาพนักงานใหม่ และการฝึกฝนทีมงาน

หน้าที่หลักของ e-CRM 
1. การหาลูกค้าใหม่
2. การรักษาลูกค้าเก่าไว้
3. การสร้างความจงรักภัคดี
4 การขายสินค้าเพิ่มขึ้น

ปัจจัยที่มีผลต่อ e-CRM
1. ปรับแนวคิดการติดต่อกับลูกค้า
2. เน้นการติดต่อและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับลูกค้า
3. ดำรงไว้ซึ่งเป้าหมายการสร้างประโยชน์ให้แก่ลูกค้า
4. เรียนรู้และเข้าถึงเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการพัฒนาความสัมพันธ์
5. ต้องมีข้อมูลของลูกค้าอย่างถูกต้อง ทันสมัยเพื่อให้ทันกับพฤติกรรมของลูกค้า
6. ติดตามกลยุทธ์การตลาดของคู่แข่งขันอย่างทันเหตุการณ์
7. ต้องมีความยืดหยุ่นในกลยุทธ์ ถ้าข้อมูลเปลี่ยนต้องปรับกลยุทธ์ตอบสนองความเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันที
8. ทำ ERM : Employee Relationship Management คือ สร้างความสัมพันธ์และความรู้สึกของการทำงานเป็นทีม
9. ทำ ERM : Experiment Relationship Management คือ การจัดการกับประสบการณ์ของลูกค้า
10.ทุกฝ่ายในบริษัทต้องมี Marketing Mind

Chapter 5 E-marketing





E-Marketing

E-Marketing ย่อมาจากคำว่า Electronic Marketing หรือเรียกว่า “การตลาดอิเล็กทรอนิกส์” หมายถึงการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือพีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง

คุณลักษณะเฉพาะของ e-Marketing
เป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจง (Niche Market)
เป็นลักษณะเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (2 Way Communication)
เป็นรูปแบบการตลาดแบบตัวต่อตัว (One to One Marketing หรือ Personalize Marketing) ที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดรูปแบบสินค้าและบริการได้ตามความต้องการของตนเอง
มีการกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค (Dispersion of Consumer)
เป็นกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถสื่อสารไปยังทั่วทุกมุมโลก ตลอด 24 ชั่วโมง (24 Business Hours)
สามารถติดต่อสื่อสาร โต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว (Quick Response)
มีต้นทุนต่ำแต่ได้ประสิทธิผล สามารถวัดผลได้ทันที (Low Cost and Efficiency)
มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการตลาดแบบดั้งเดิม (Relate to Traditional Marketing)
มีการตัดสินใจในการซื้อจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ (Purchase by Information)


ความแตกต่างกันระหว่าง e-Marketing, e-Business และ e-Commerce
E-Marketing คือรูปแบบการทำการตลาดในรูปแบบหนึ่งโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือดิจิตอลเข้ามาช่วยในการทำการตลาด แต่ในความหมายสำหรับ E-Business หรือ Electronic Business นั้นจะมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า E-Commerce หรือ Electronic Commerce มากกว่า เพียงแต่ว่าความหมายของ E-Business จะมีขอบเขตที่กว้างกว่า โดยหมายถึงการทำกิจกรรมในทุก ๆ ขั้นตอนของกระบวนการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า “ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์”ทั้งการทำการค้าการซื้อการขาย การติดต่อประสานงาน งานธุรการต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสำนักงาน และการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์


ลักษณะการนำ E-Business มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้แก่
การเชื่อมต่อระหว่างกัน ภายในองค์กร (Intranet)
การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับภายนอกองค์กร (Extranet)
การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับลูกค้าทั่วโลก (Internet)


Distinguishing between e-marketing, e-business and e-commerce






ประโยชน์ของ e-Marketing
E-Marketing เป็นกระบวนการในการจัดการทางการตลาด โดยมีการเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญแก่ลูกค้าเป็นหลัก ในขณะที่แสดงถึงการเชื่อมโยงการทำงานทางธุรกิจในอันที่จะช่วยสร้างความสำเร็จในผลกำไรให้กับธุรกิจ ซึ่งสามารถแบ่งกระบวนการในการจัดการทางการตลาดได้ดังนี้

การจำแนกแยกแยะ (Identifying) สามารถทำการจำแนกแยกแยะได้ว่าลูกค้าเป็นใคร มีความต้องการอย่างไร อยู่ที่ไหน และมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าอย่างไร โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย
การทำนายความคาดหวังของลูกค้า (Anticipating) เนื่องจากความสามารถของอินเทอร์เน็ตนั้นช่วยเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูล และสามารถซื้อสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยการเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำ E-Marketing
สนองความพอใจของลูกค้า (Satisfying) ถือเป็นความสำเร็จในการทำ E-Marketing ในการสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์

ประโยชน์ของการนำ e-Marketing มาใช้ 5Ss’
การขาย (Sell) ช่วยทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นจากการทำการตลาดออนไลน์
การบริการ (Serve) การสร้างประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นให้แก่ลูกค้า จากการใช้บริการผ่านออนไลน์
การพูดคุย (Speak) การสร้างความใกล้ชิดกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยสามารถสร้างแบบสนทนาการโต้ตอบกันได้ระหว่างกันได้
ประหยัด (Save) การสร้างความประหยัดเพิ่มขึ้นจากงบประมาณการพิมพ์กระดาษ
การประกาศ (Sizzle) การประกาศสัญลักษณ์ ตราสินค้าผ่านออนไลน์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสินค้าของเราให้เป็นที่รู้จัก มีความคุ้นเคยมากยิ่งขึ้น

หลักการของ e-Marketing
การตลาดยุค E เน้นการใช้ Mass Customization มากกว่า Mass Marketing เพราะลูกค้าทุกคนมีสิทธิ์เลือกเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลกเพื่อหาสินค้าที่ตนเองต้องการ เพราะฉะนั้น เราต้องเน้นระบบที่สนองตอบความต้องการของลูกค้าแต่ละคนเป็นหลัก
การแบ่งส่วนตลาดต้องเป็นแบบ Micro Segmentation หรือ One-to-One Segmentation หมายถึง หนึ่งส่วนตลาดคือ ลูกค้าหนึ่งคน เพราะในตลาดบนเว็บถือว่าลูกค้า เป็นใหญ่ เนื่องจากมีสิทธิ์ที่เลือกซื้อสินค้าใครก็ได้ ฉะนั้นการพิจารณาข้อมูลความต้องการ หรือพฤติกรรมของลูกค้าทุกคน โดยอาศัยระบบฐานข้อมูลที่ตรวจจับพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละราย ได้ถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญมาก หรือในแง่ของการจัดการแล้วเราเรียกว่า CRM หรือ Customer Relationship Management นั่นเอง เพราะนี่จะทำให้เราทราบว่า ใครคือลูกค้าประจำ
การวางตำแหน่งสินค้า (Positioning) ต้องเป็นไปตามความต้องการแต่ละบุคคล หรือ Migrationing การวางตำแหน่งสินค้าเพื่อให้ลูกค้ารับรู้นั้น ต้องวางตามความต้องการของแต่ละบุคคล
ให้เราเป็นหนึ่งในเว็บที่ลูกค้าจำได้ การ สร้างความจดจำเพื่อให้จำเว็บไซต์เราการจดชื่อโดเมนที่ทำให้จดจำง่าย หรือมีความหมายที่สอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ต้องรู้ ความต้องการลูกค้าล่วงหน้า จำเป็นจักต้องติดตามพฤติกรรมการซื้อของกลุ่มเป้าหมายโดยตลอด


เครื่องมือที่สำคัญของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
Digital advertising
Raid Marketing
e-mail Marketing
Video Marketing
Blogging
Mobile marketing
Pay Per Click
Search Engine Optimization
Social Media Marketing


ส่วนผสมทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
ผลิตภัณฑ์ (Product)
ราคา (Price)
สถานที่ (Place)
การส่งเสริมการขาย (Promotion)
เครือข่ายสังคม (Social Network)
การขายบนเว็บไซต์
การบริการลูกค้า
ระบบป้องกันความปลอดภัย
ระบบฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อนำมาใช้ในการบริการ (Personalization Service)

e-Marketing Planning
the SOSTAC™ framework developed by Paul Smith (1999) ซึ่งสามารถสรุปขั้นตอนที่เกี่ยวข้องได้ 6 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
Situation – where are we now?เราอยู่ตรงไหน
Objectives – where do we want to be?เราอยากเป็นอย่างไรในอนาคต
Strategy – how do we get there?ทำอย่างไรจึงจะไปสู่เป้าหมาย
Tactics – how exactly do we get there?เราจะไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างชัวร์ๆได้อย่างไร
Action – what is our plan?แผนการทำงานคืออะไร
Control – did we get there?การควบคุม ติดตาม และประมวลผล


e-Marketing Planning







7 ขั้นตอนสำหรับการทำ e-Marketing

ขั้น 1 กำหนดวัตถุประสงค์ (Set Objective)


ขั้น 2 การกำหนดกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธี 5W+1H
Who(ใคร) ลูกค้าคือใคร
What(อะไร) อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เพื่อทราบอุปสงค์(demand) และความปรารถนาภายในใจ (willing) ของลูกค้า
Where (ที่ไหน) ลูกค้าอยู่ที่ไหน เป็นคำถามเชิงภูมิศาสตร์เพื่อทราบถึงสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ภาษา และเชื้อชาติของกลุ่มเป้าหมายว่าเป็นเช่นไร
When (เมื่อไร) เมื่อไรที่ลูกค้าต้องการเรา
Why (ทำไม) ทำไมลูกค้าต้องมาที่เรา
How (อย่างไร) เราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างไร

ขั้น 3 วางแผนงบประมาณ มีเงินเท่าไร จะใช้เท่าไร
หลักในการทำงบฯ มีด้วยกันหลายวิธีเช่น
ทำงบประมาณตามสัดส่วนจากการขาย
ทำงบประมาณตามสภาพตลาด
ทำงบประมาณตามวัตถุประสงค์
ทำงบประมาณตามเงินทุน 

ขั้น 4 กำหนดแนวความคิดและรูปแบบ หาจุดขาย ลูกเล่น

ขั้น 5 การวางแผนกลยุทธ์ และสื่อ ช่วงเวลา

ขั้น 6 การดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้
เทคนิคการเตรียมตัวก่อนการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ ดังนี้
เช็คว่าพร้อมหรือยัง? ด้วยกลยุทธ์ 6C
มีเอกลักษณ์หรือจุดเด่นของเว็บไซต์
การสร้างช่องทางการเก็บข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์

ขั้น 7 วัดผลและประเมินผลลัพธ์


6 Cs กับความสำเร็จของการทำเว็บ
C ontent (ข้อมูล)
C ommunity (ชุมชน,สังคม)
C ommerce (การค้าขาย)
C ustomization (การปรับให้เหมาะสม)
C ommunication, Channel (การสื่อสารและช่องทาง)
C onvenience (ความสะดวกสบาย)

Chapter 4 E-Commerce



Chapter 4
E-Commerce

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
               กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่า องค์การเครื่อข่ายรวม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

                พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand, 1999)
พาณิชย์อิเ็กทรอนิกส์ คือการผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์(WTO, 1998)

                 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล้กทรอนิกส์ เช่น การซ้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ โทรศัพท์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป้นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธฺภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้


E-Business และ E-Commerce เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?

E-Business คือ
การดำเนินการทาง "ธุรกิจ"ต่างๆผ่านสื่ออิเล้กทรอนิกส์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล

จากความหมายของ E-Business และ E-Commerce จะเห็นได้ว่าสองคำนี้มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่อันที่จริงแล้วมีความหมายต่างกันโดย E-Business คือการทำกิจกรรมทุกๆอย่าง ทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่า แต่ E-Commerce จะเน้นที่การซื้อขายสินค้า และบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั่น จึงสรุปได้ว่า E-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ E-Business

กรอบการทำงาน (E-Commerce Framework)



แบ่งเป็น 3 ส่วน

ส่วนหัวหรือสามเหลี่ยมหมายถึง การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)
การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
การบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-service)
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce : Mobile Commerce


ส่วนโครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)แบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
ระบบเครือข่าย(Network)
ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel of Communication)
การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Foemat & Content Publishing)
การรักษาความปลอดภัย (Security)


การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
จะทำหน้าที่คอยช่วยเหลือและสนับสนุนส่วนของการประยุกต์ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน อย่างไรก็ตามเสาบ้านเสาบ้านก้ต้องอาศัยพื้นบ้านในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำหรับส่วนสนับสนุนมีองค์ประกอบ 5 ส่วนดังนี้

1. การพัฒนาระบบงาน E-commerce Application Development
2. การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
3. กฏหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
4. การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
5. การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion


The Dimensions of E-Commerce


ประเภทของ E-Commerce
กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profit Organization)
Business-to-Business (B2B)
Business-to-Customer (B2C)
Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
Customer-to-Customer (C2C)
Customer-to-Business (C2B)
Mobile Commerce

กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profit Organization)
Intrabusiness (Organization) E-Commerce
Business-to-Employee (B2E)
Goverment-to-Citizen (G2C)
Collaborative Commerce (C-Commerce)
Exchange-to-Exchange (E2E)
E-Learning
E-Commerce Business Model


วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับสินค้าและบริการ ได้แก่

1. ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก ตัวอย่างเช่น Wall Street Journal (หนังสือพิมพ์),JobsDB.com(ข้อมูลตลาดหางาน)
2. ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เช่น Paypal,FedEx
3. ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ Amazon,Thaigem (อัญมณี)
4. ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา
5. บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น MERX (การให้ข้อมูลการประกวดราคาโครงการของรัฐ)
6. ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์
7. ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Half.com (สินค้าใช้แล้ว)


ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์






ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce

ข้อดี
สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
ง่ายต่อการประชาสัมพันธู และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ง่าย
ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ


ข้อเสีย
ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
ไม่สามารถเข้าถึงลุกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้
ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
ขาดกฏหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่ 3 E-business strategy

บทที่ 3

E-business strategy


ความหมายของ Strategy
              การกําหนดทิศทาง และ แนวทางในการปฏิบัติ ในอนาคต ขององค์กร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ได้วางไว

ความหมายของ E-Strategy
             วิธีการที่จะทําให้กลยุทธ์ขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยการนําการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งาน ทั้งการสื่อสารภายในองค์กร และ การสื่อสารภายนอกองค์กร

Business Strategy
               คือ กลยุทธ์ที่จะเชื่อมให้แบบจําลองทางธุรกิจ เป็นจริงได้ทํายังไงให้การสร้าง มูลค่า นั้นเป็นจริงได้ แล้วทํายังไงที่จะส่ง มูลค่า นั้นให้กับลูกค้าได้ดีที่สุดแต่เป็นการสร้างธุรกิจที่มีความแตกต่าง อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้จะพูดถึงตัวแบบขั้นตอนกลยุทธ์หลักในการทําธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง 4 ขั้นตอนดังนี้
-Strategic evaluation : กลยุทธ์การประเมิน
-Strategic objectives : กลยุทธ์การวางแผนวัตถุประสงค์
-Strategy definition : กลยุทธ์การกําหนดนิยาม
-Strategy implementation : กลยุทธ์การดําเนินงาน

กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business Strategies)
              กลยุทธ์ เป็นตัวกําหนดทิศทางและการดําเนินงาน ด้านต่างๆ ขององค์กร กลยุทธ์เป็นเสมือนกับเหตุผลและความมุ่งหมายขององค์กรองค์ประกอบที่สําคัญของกลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ คือ การสร้างช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ให้กับองค์กร กลยุทธ์ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยในการกําหนดเป้าหมายที่ชัดเจนหรือเหมาะสม



Different forms of organizational strategy


Relationship between e-business strategy and other strategies



E-channel strategies
                E-Channel ย่อมาจาก electronic channels คือ การสร้างช่องทางใหม่ๆ ในการกระจายสินค้า ทั้งจากลูกค้า และคู่ค้า โดยที่ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

แผนกลยุทธ์
แผนกลยุทธ์(Strategic Plan )คือ
   -เอกสารที่ระบุวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ต่างๆ
   -เป็นแผนระยะยาวที่บ่งบอกทิศทางการดำเนินขององค์กร
   -เป็นแผนที่จัดทำขึ้นจากการวิเคราะห์สภาพภายนอก

กรณีศึกษา บทที่ 3

กรณีศึกษา บทที่ 3

ภาพรวมองค์กร

                         บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจเครื่องดื่ม โดยเป็นทั้งผู้ผลิตและจัด จำหน่าย หรือ เป็นเพียงผู้จัดจ ำหน่ายเพียงอย่างเดียว และยังมีบริษัทในเครือคือ บริษัท เสริม สุข เบเวอร์เรจ จำกัด (บริษัทย่อยทางอ้อม) ดำเนินธุรกิจ เป็นผู้ผลิตและรับจ้างผลิตเครื่องดื่ม ชาลิปตัน เครื่องดื่มเกเตอเรด และน้ าผลไม้ทรอปิคานา ทวิสเตอร์ และจำหน่ายให้บริษัทเสริม สุข จ ากัด (มหาชน) เป็นผู้จัดจำหน่ายโดยตรงหรือจ าหน่ายให้บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรด ดิ้ง จำกัด ซึ่งจะจำหน่ายต่อให้บริษัทเสริมสุข จ ากัด (มหาชน) เป็นผู้จัดจ าหน่ายให้อีกต่อหนึ่ง ปัจจุบันหุ้นของบริษัท เสริมสุข เบเวอร์เรจ จำกัด (ร้อยละ 99.99) ถือโดยบริษัท เสริมสุข โฮล ดิ้งส์ จำกัด (บริษัทย่อยทางตรง) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2549 โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อถือหุ้น และบริหารการลงทุนของบริษัทในเครือของเสริมสุข นอกจากนี้ บริษัท เสริมสุข จ ากัด (มหาชน) ยังถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 40 ในบริษัท เพ็ทฟอร์ม (ไทยแลนด์) จ ากัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจ าหน่ายหลอดพลาสติกเพื่อใช้ในการผลิตขวดพี อีที ขวดพีอีทีและฝาพลาสติก

วิสัยทัศน์ (Vision) 

บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) คือ บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มครบวงจรรายแรก ที่นำความสดชื่นมาสู่ผู้บริโภคชาวไทยทั่วประเทศ และในการที่จะรักษาไว้ซึ่งความเป็นผู้นำอัน แข็งแกร่งในตลาดเครื่องดื่ม บริษัทฯ จึงได้วางนโยบายและการดำเนินงานตามที่กำหนดไว้ดังนี้

-  มุ่งเน้นให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด โดยการให้บริการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีที่สุด
-  มองหาโอกาสในการเจาะตลาดและสถานที่ในการจัดจำหน่ายใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ 2
-  พัฒนาระบบปฏิบัติการ องค์กร และบุคลากรทุกคนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและตัวแทนผู้จัดจำหน่ายอย่างเต็มที่ เนื่องจากความสำเร็จนั้น เกิดจากระบบการจัดการที่ยอดเยี่ยมของผู้จัดจำหน่ายเป็นหลัก

แผนกลยุทธ์

อธิบายรายละเอียดได้ดังนี้
1. ดวงดาว (Star) แสดงว่าฐานะหรือต้าแหน่งของ SBU เป็นผู้น้าในตลาดมีส่วนครอง ตลาดสูง (high market share)อยู่ในอุตสาหกรรมซึ่งก้าลังขยายตัวสูง (high growth) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า SBU นั้นจะสามารถท้าก้าไรได้มาก จึงควรก้าหนด เป้าหมายที่จะรักษาจุดเด่น เหนือคู่แข่งขัน (differential advantage) ของบริษัท เอาไว้เป็นประการส้าคัญ เพื่อเผชิญกับคู่แข่งซึ่งก้าลังจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. โคนม (Cash cow) แสดงว่าฐานะหรือต้าแหน่งของ SBU เป็นผู้น้าในตลาดมีส่วน ครองตลาดสูง (high market share)แต่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ขยายตัวต่้า หรือ อิ่มตัว แล้ว (low growth)โดยปกติ SBU ที่อยู่ในต้าแหน่งนี้จะมีลูกค้าขาประจ้า หรือ ลูกค้า ที่มีความภักดีต่อผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ SBU นี้ปริมาณมากยากที่ คู่แข่งขันจะแย่งชิงไปได้ ดังนั้นขึงท้าให้มียอดขายและก้าไรได้สูงอีกด้วย
3. เด็กมีปัญหา (Problem child) หรือ เครื่องหมายค้าถาม (question mark) แสดงว่า ฐานะหรือต้าแหน่งของ SBU ของบริษัทมีส่วนครองตลาดต่้า (low market share) เมื่อเทียบกับส่วนครองตลาดของคู่แข่งขัน แต่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ก้าลังขยายตัวสูง (high growth) ดังนั้นบริษัทจ้าเป็นต้องใช้เงินมากเพื่อรักษาหรือเพิ่มส่วนครองตลาด ให้สูงขึ้น
4. สุนัขเผ้าบ้าน (dog) แสดงว่าฐานะหรือต้าแหน่งของ SBU ของบริษัทมียอดขาย จ้ากัดเพรามีส่วนครองตลาดต่้า (low market share) เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนครอง ตลาดของคู่แข่งขัน และอยู่ในอุตสาหกรรมที่อิ่มตัวหรือลดลง(low growth) SBU จะ มีก้าไรต่้าหรือขาดทุน การลงทุนต่อไปไม่คุ้มค่า โอกาสก้าวหน้ามีน้อย

การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค (SWOT Analysis) ของ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) 
การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths) 
1. Pepsi เป็นแบรนด์น้้าอัดลมที่มีมานาน เป็นที่จดจ้า และอยู่ในใจของผู้บริโภคมา อย่างยาวนาน 
2. Pepsi มีภาพลักษณ์ที่ชัดเจนในด้านของความทันสมัย ตอบสนองคนรุ่นใหม่ที่ ต้องการความสดชื่นให้กับชีวิต 63 
3. Pepsiใช้ผู้จัดจ้าหน่ายที่มีระบบการขนส่ง รวมถึงการกระจายสินค้าที่ดีและทั่วถึงใน ทุกระดับตลาด 
4. Pepsi มีหลาย (SKU) ทั้งขนาด Size และรสชาติ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ปราศจาก น้้าตาลท้าให้สามารถเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคทุกกลุ่ม 
5. Pepsi ใช้การโฆษณาที่ World wide ที่ท้าให้เพิ่มการรับรู้ (Perception) การเข้าถึง และจูงใจให้ผู้บริโภค โดยการเลือกใช้พรีเซนเตอร์ที่มีชื่อเสียงในโฆษณาของบริษัทฯ เช่น นักฟุตบอลที่มีชื่อเสียงระดับโลก นักร้องชื่อดังของแต่ละประเทศ เป็นต้น 
6. Pepsi มีการน้าเสนอผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มครบวงจรในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ หลากหลายยิ่งขึ้นและในราคาที่เหมาะสมอีกทั้งมัดใจผู้บริโภคด้วยผลิตภัณฑ์ที่มี คุณภาพและคุ้มค่าเงิน 

การวิเคราะห์จุดอ่อน (Weaknesses) 
1. ผลิตภัณฑ์มีความอ่อนไหวต่อสภาพภูมิอากาศซึ่งอาจก่อให้เกิดการเสียหายของ สินค้าได้ง่าย 
2. สินค้าบาง SKU ในแบรนด์ Pepsi มีอายุในการจัดเก็บสั้น อาทิ Pepsi Max มีอายุ หลังบรรจุเพียง 4 เดือน 
3. ตราผลิตภัณฑ์ของ Pepsi มีหลากหลาย สามารถส่งผลให้ความเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว (Uniqueness) และ ความคลาสิก ของผลิตภัณฑ์ลดน้อยลง 
4. Pepsi ถือว่าเป็นน้้าอัดลม ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีคุณค่าทางสารอาหารที่มีประโยชน์ ต่อร่างกาย อาจท้าให้เป็นที่ต่อต้านของผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพของตัวเองมาก 

การวิเคราะห์โอกาส (Opportunities) 
1. สินค้าเป็นลักษณะ low purchase involvement ซึ่งท้าให้สามารถซื้อขายได้ง่ายและ มีจ้าหน่ายใน ทุกๆ พื้นที่ทั่วประเทศ 
2. ในสภาวะภูมิอากาศเขตร้อน เช่น ประเทศไทยท้าให้น้้าอัดลมเป็นเครื่องดื่มดับ กระหายอันดับต้นๆ ของผู้บริโภค 
3. ผู้บริโภคนิยมสั่งน้้าอัดลมเพื่อรับประทานคู่กับอาหารซึ่งสามารถเข้ากันได้ดี เพื่อ เป็นการเพิ่มรสชาติให้กับอาหาร 64 

การวิเคราะห์อุปสรรค (Threats) 
1. ปัจจุบันในหลายๆ สื่อมักมีการชี้ให้เห็นโทษจากการดื่มน้้าอัดลมและโจมตีว่ามี ผลเสียต่อสุขภาพ จึงอาจท้าให้ค่านิยมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไป 
2. เครื่องดื่ม Functional Soft drink เข้ารุกตลาดอย่างมาก และผู้บริโภคหันมาสนใจใน เรื่องสุขภาพมากขึ้นจึงหันไปดื่ม Functional Soft drink อาทิ ชาเขียว หรือ Water Plus ต่างๆแทนมากขึ้น 
3. การแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมน้้าอัดลม และ ผู้เล่นหน้าใหม่ในอุตสาหกรรม Non Carbonate Soft Drink ที่พยายามหาทุกช่องทางในแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด ให้เพิ่มขึ้นจากเดิม 
4. ต้นทุนทางการผลิตที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบ ส่งผล ต่อราคาของสินค้า แต่การที่ Pepsi จะปรับขึ้นราคานั้น จะส่งผลให้ความต้องการ ของผู้บริโภคลดลงหรืออาจท้าให้เกิดการเปลี่ยนไปบริโภคเครื่องดื่มชนิดอื่นแทนได้

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Chapter 2 e-business infrastructure

 Chapter 2  e-business infrastructure

บทที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจ

ผลการเรียนรู้
 -เค้าโครงฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีซอฟแวร์ที่ใช้ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ภายในองค์กรและกับคู่ค้าของตน
 -เค้าโครงข้อกำหนดฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นเพื่อให้สามารถเข้าถึงการทำงานของพนักงานต่อกับอินเทอร์เน็ตและโฮสติ้งของบริการ E-commerce

ปัญหาด้วยทั่วไป
1. การสื่อสาร Web เว็บไซต์ช้าเกินไป
2. เว็บไซต์ Web ไม่สามารถใช้ได้
3. Bugs บนเว็บไซต์ผ่านหน้าถูกใช้งานไม่ได้หรือข้อมูลที่พิมพ์ในรูปแบบที่ไม่ได้รับการดำเนินการ
    ผลิตภัณฑ์
4. Orderedไม่ได้ส่งมอบตรงเวลา
5. อีเมลไม่ได้ตอบความเป็นส่วนตัว
6. ลูกค้าหรือความไว้วางใจเสียผ่านปัญหาการรักษาความปลอดภัยเช่นบัตรเครดิตถูกขโมยหรือที่อยู่ขาย    ให้กับ บริษัท อื่น ๆ

โครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจ




สถาปัตยกรรมของฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์เนื้อหาและข้อมูลที่ใช้ในการให้บริการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ให้กับพนักงานลูกค้าและคู่ค้า

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้าง E-BUSINESS

อินเทอร์เน็ตคืออะไร? 



"อินเทอร์เน็ตบางครั้งเรียกว่า" สุทธิ "เป็นระบบที่ทั่วโลกของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ - เครือข่ายของเครข่ายที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่คนใดคนหนึ่งสามารถถ้าพวกเขาได้รับอนุญาตได้รับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ





อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล(protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้


ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากร 100 คน




ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำแนกตามภาษา





ภาษาบนเว็ปไซต์





ดัชนีของจำนวนของเซิร์ฟเวอร์





วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Chapter 1

Introduction to E-business and E-commerce

                    ปัจจุบัน มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การสื่อสารแบบไร้สาย ในองค์กรธุรกิจมานานมากกว่า 15 ปี มีการพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นครั้งแรก โดย Sir Tim Berners-Lee ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 ซึ่งการปรับใช้ เทคโนโลยีเหล่านี้ ได้ สร้างโอกาส มากมาย ให้กับธุรกิจ


ผลกระทบของการสื่สารออนไลน์ที่มีต่อ
ธุรกิจแบบดั้งเดิม
  1. การเจริญเติบโตของ social networks
  2. rich media หรือ สื่อสมัยใหม่ ที่ประกอบไปด้วย vdo online และ interactine applications หรือการทำให้เรามีส่วนร่วมไปกับการนำเสนอสิ่งต่างๆผ่านอินเทอร์เน็ต
  3. การเจริญเติบโตของ mobile commerce เช่นการขายสินค้าผ่านระบบมือถือ
  4. location based การประยุคใช้เทคโนโลยี ดาวเทียม และ พิกัดพ๊อย
  5. โลกเสมือน (Virtual World) คือ การจำลองสภาพแวดล้อม ที่สามารถตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้หลายคน พร้อมๆ กัน ผ่านเครือข่ายออนไลน์
  6. location based services (LBS) ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีระบุตำแหน่งที่อยู่ใช้อุปกรณ์ไร้สายอย่างแม่นยำ เป็นการค้นหาสถานที่ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ

ความแตกต่างระหว่าง e-commerce กับ e-business

                  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร
                  e-Business นั้น คือ การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ”ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ

ความแตกต่างระหว่างด้านซื้อและด้านขายของ e-Commerce

ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่าง 
e-Commerce และ e-Business

                           เอ็กทราเน็ต คือ ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายของอินทราเน็ตเข้ากับระบบ
                              คอมพิวเตอร์ภายนอก หรือเชื่อมอินทราเน็ตกับอินทราเน็ตอีกที่หนึ่งเข้าด้วยกัน ลักษณะการทำงาน จะเหมือนกันอินทราเน็ตแต่ว่าเชื่อมแต่ละที่ให้เข้าหากัน เพื่อจุดประสงค์การทำงานที่เพิ่มขึ้น
                    อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่างๆ จากทั่วมุมโลกเข้าด้วยกันไม่ ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชการและเอกชน ซึ่งมีข้อมูลมากมายท๊๋สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้