วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Chapter 4 E-Commerce



Chapter 4
E-Commerce

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
               กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่า องค์การเครื่อข่ายรวม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

                พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand, 1999)
พาณิชย์อิเ็กทรอนิกส์ คือการผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์(WTO, 1998)

                 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล้กทรอนิกส์ เช่น การซ้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ โทรศัพท์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป้นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธฺภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้


E-Business และ E-Commerce เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?

E-Business คือ
การดำเนินการทาง "ธุรกิจ"ต่างๆผ่านสื่ออิเล้กทรอนิกส์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล

จากความหมายของ E-Business และ E-Commerce จะเห็นได้ว่าสองคำนี้มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่อันที่จริงแล้วมีความหมายต่างกันโดย E-Business คือการทำกิจกรรมทุกๆอย่าง ทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่า แต่ E-Commerce จะเน้นที่การซื้อขายสินค้า และบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั่น จึงสรุปได้ว่า E-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ E-Business

กรอบการทำงาน (E-Commerce Framework)



แบ่งเป็น 3 ส่วน

ส่วนหัวหรือสามเหลี่ยมหมายถึง การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)
การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
การบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-service)
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce : Mobile Commerce


ส่วนโครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)แบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
ระบบเครือข่าย(Network)
ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel of Communication)
การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Foemat & Content Publishing)
การรักษาความปลอดภัย (Security)


การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
จะทำหน้าที่คอยช่วยเหลือและสนับสนุนส่วนของการประยุกต์ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน อย่างไรก็ตามเสาบ้านเสาบ้านก้ต้องอาศัยพื้นบ้านในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำหรับส่วนสนับสนุนมีองค์ประกอบ 5 ส่วนดังนี้

1. การพัฒนาระบบงาน E-commerce Application Development
2. การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
3. กฏหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
4. การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
5. การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion


The Dimensions of E-Commerce


ประเภทของ E-Commerce
กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profit Organization)
Business-to-Business (B2B)
Business-to-Customer (B2C)
Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
Customer-to-Customer (C2C)
Customer-to-Business (C2B)
Mobile Commerce

กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profit Organization)
Intrabusiness (Organization) E-Commerce
Business-to-Employee (B2E)
Goverment-to-Citizen (G2C)
Collaborative Commerce (C-Commerce)
Exchange-to-Exchange (E2E)
E-Learning
E-Commerce Business Model


วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับสินค้าและบริการ ได้แก่

1. ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก ตัวอย่างเช่น Wall Street Journal (หนังสือพิมพ์),JobsDB.com(ข้อมูลตลาดหางาน)
2. ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เช่น Paypal,FedEx
3. ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ Amazon,Thaigem (อัญมณี)
4. ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา
5. บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น MERX (การให้ข้อมูลการประกวดราคาโครงการของรัฐ)
6. ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์
7. ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Half.com (สินค้าใช้แล้ว)


ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์






ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce

ข้อดี
สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
ง่ายต่อการประชาสัมพันธู และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ง่าย
ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ


ข้อเสีย
ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
ไม่สามารถเข้าถึงลุกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้
ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
ขาดกฏหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น